วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ทดสอบหลังเรียนวันวิสาขบูชา

http://quickr.me/zSBAr4J

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา (บาลี: วิสาขปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็น "วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล" ของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก, วันหยุดราชการ ในหลายประเทศ และ วันสำคัญของโลก ตามมติเอกฉันท์ของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ[1] เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์นั้นได้เกิดตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขมาส (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง จึงเรียกการบูชาในวันนี้ว่า "วิสาขบูชา" ย่อมาจาก"วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน โดยในประเทศไทย ถ้าในปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 หลัง ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทอื่นที่ไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติของไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] และในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกาย ที่นับถือว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้น เกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ๆ ซึ่งจะไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท [3]
วันวิสาขบูชานั้น ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น "วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ณ ใต้ร่มสาละพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน
วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า "พุทธชยันตี" (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย, ประเทศบังกลาเทศ, ประเทศไทย, ประเทศพม่า, ประเทศศรีลังกา, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะชาวพุทธทุกนิกายจะพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก[4] (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น "วันสำคัญสากลนานาชาติ (International Day)" หรือ "วันสำคัญของโลก" ตามคำประกาศของที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 54 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ประกาศให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์ และประชาชน จะมีการประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น เพื่อเป็นการบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ดังกล่าว ที่ถือได้ว่าเป็นวันคล้ายวันที่ "ประสูติ" ของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาได้ "ตรัสรู้" เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงกอปรไปด้วย "พระบริสุทธิคุณ", "พระปัญญาคุณ" ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือความจริงของโลกแก่พหูชนทั้งปวงโดย "พระมหากรุณาธิคุณ" จวบจนทรง "เสด็จดับขันธปรินิพพาน" ในวาระสุดท้าย ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องในวันเพ็ญเดือน 6 ทั้งสิ้นนี้ ทำให้พระพุทธศาสนาได้บังเกิดและสืบต่อมาอย่างมั่นคงจนถึงปัจจุบัน

การปกครองสมัยอยุธยา

การปกครองสมัยอยุธยา


อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลงนั้น พระเจ้าอู่ทองผู้นำคนไทยที่อยู่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำเจ้าพระยา พระองค์ไดรวบรวมผู้คนก่อตั้งราชธานีขึ้นที่บริเวณหนองโสน หรือบึงพระราม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การปกครองในสมัยอยุธยา
ภายหลังจากที่พระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว ระหว่างปี พ.ศ. 1893 จนถึง พ.ศ.2310 เป็นเวลา 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 34 พระองค์ มี 5 ราชวงศ์คือ
1. ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 1952)
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1952 ถึง พ.ศ. 2112)
3. ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112 ถึง พ.ศ. 2172)
4. ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2172 ถึง พ.ศ. 2231) รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา


รูปแบบการปกครองในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ถึง พระเจ้าสามพระยา
1. การปกครองส่วนกลาง (ภายในราชธานี) เป็นแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ เมืองหน้าด่าน หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช
การปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
1. การปกครองส่วนกลาง แบ่งออกเป็น สมุหกลาโหม และสมุหนายก
2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก เมืองประเทศราช
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231 ถึง พ.ศ. 2310)


สภาพเศรษฐกิจและสังคม

สภาพเศรษฐกิจและสังคม
ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
1. พระมหากษัตริย์ ทรงดำรงตำแหน่งสูงสุดในสังคม ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาด
2. เจ้านาย เป็นชนชั้นสูงถัดจากพระมหากษัตริย์ลงมา
3. ขุนนางหรือข้าราชการ จะมีศักดินาตามตำแหน่ง และความรับผิดชอบของตน ลดหลั่นลงไป
4. ไพร่ คือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ตามกฎหมายนั้นชายฉกรรจ์ทุกคน ที่อยู่ในฐานะไพร่ จะต้องไปขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย
5. พระสงฆ์ มีความสำคัญต่อสังคมมาก พระสงฆ์ยังเป็นตัวกลางเชื่อมโยงชนชั้นปกครองกับชนชั้นใต้การปกครองให้เข้ากันได้โดยอาศัยวัดเป็นศูนย์กลาง
6. ทาส เป็นบุคคลระดับต่ำในสังคมอยุธยา ไม่มีอิสระตกเป็นสมบัติของนายเงิน
สภาพทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
เศรษฐกิจสมัยอยุธยาขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม คือ การทำนา และพืชผลอื่น ๆ


ที่มารายได้สมัยอยุธยา


รายได้ของแผ่นดิน
1. จังกอบ คือ ภาษีผ่านด่านทั้งทางบก และทางน้ำ
2. อากร คือ การเก็บผลประโยชน์จากการประกอบอาชีพของราษฎร
3. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียม ซึ่งเรียกเก็บจากราษฎร ที่มาใช้บริการของรัฐ เช่น ค่าธรรมเนียมในการออกโฉนดตราสาร หรือค่าปรับที่เรียกเก็บจากฝ่ายแพ้คดีความ
4. ส่วย คือ สิ่งของหรือเงินทดแทนแรงงานจากไพร่ที่ไม่ได้มาเข้าเวรรับราชการ
5. การค้ากับต่างประเทศ นอกจากการเก็บภาษีอากรภายในประเทศแล้ว กรมพระคลังยังมีรายได้จากการเก็บภาษีการค้ากับต่างประเทศอีก ได้แก่
- ภาษีสินค้าขาเข้า
- ภาษีสินค้าขาออก
- กำไรที่ได้จากการผูกขาดสินค้าของกรมพระคลังสินค้า
- การแต่งเรือสำเภาหลวงไปค้าขาย


ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ


ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับต่างประเทศ
พม่า : ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามกัน ส่วนมากลักษณะของสงครามคือ พม่าเป็นฝ่ายยกทัพเข้ามารุกรานไทย และไทยเป็นฝ่ายตั้งรับ
ล้านนา : ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามกันโดยไทยต้องการขยายอาณาเขตไทยเคยรวบรวม อาณาจักรล้านนา มาไว้ในอาณาจักรหลายครั้ง แต่ในบางครั้งล้านนาก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กัมพูชา ส่วนใหญ่เป็นการทำสงครามระหว่างกัน เพราะไทยมีนโยบายครอบครอง
กัมพูชา : กัมพูชาพยายามตั้งตัวเป็นอิสระ ไทยจึงต้องยกกองทัพไปปราบปรามอยู่บ่อยครั้ง
ลาว : ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาว เป็นไปในลักษณะของ "บ้านพี่เมืองน้อง" จุดมุ่งหมายที่ไทยกับลาวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันคือ เพื่อต่อต้านอำนาจของพม่า


ญวน : ไทยกับญวนมักจะมีเรื่องขัดแย้งกัน เพราะต่างมีอำนาจเท่าเทียมกัน และมักจะขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนลาวกับกัมพูชา
มลายู : ไทยได้ขยายอำนาจไปยังเมืองมลายู หลังจากได้เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหัวเมืองมลายู ส่วนที่ตกเป็นเมืองขึ้นของไทย ได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู การปกครองหัวเมืองมลายูไทย ให้เจ้านายพื้นเมืองปกครอง ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตก
โปรตุเกส : โปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกชาติแรก ที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยา และทำสัญญาการค้าอย่างเป็นทางการ ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ชาวโปรตุเกส เคยอาสาสมัครเข้าช่วยรบในกองทัพไทย ส่วนทางด้านศิลปะวิทยาการต่าง ๆ ไทยยังได้เรียนรู้ศิลปะ และวิทยาการที่ชาวโปรตุเกสนำมาเผยแพร่เช่น การทำปืนไฟ การสร้างป้อมปราการ การฝึกทหารแบบตะวันตก การทำขนมฝรั่ง ฝอยทอง


สเปน : ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับสเปน เริ่มขึ้นตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่าง กรุงศรีอยุธยา กับฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสเปน
ฮอลันดา : ฮอลันดา ติดต่อกับประเทศทางตะวันออกก็เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นหลัก ไทยกับฮอลันดามีการทำสัญญาการค้าฉบับแรก ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ความสัมพันธ์ ระหว่างไทยกับฮอลันดาไม่ค่อยราบรื่นนักในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพราะฮอลันดาพยายามเรียกร้องผลประโยชน์ทางการค้าจากไทยมากเกินไป ความขัดแย้งกับฮอลันดาเป็นเหตุให้ไทยเริ่มผูกมิตรกับฝรั่งเศสแน่นแฟ้นขึ้นเพื่อถ่วงดุลกับฮอลันดา


อังกฤษ : อังกฤษเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เพื่อเปิดสัมพันธ์ด้านการค้า และพยายามเรียกร้องสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะถูกฮอลันดา คอยขัดขวางจึงได้ยกเลิกสถานีการค้าในเวลาต่อมา ในสมัยพระนารายณ์มหาราชไทยได้ ทำสงครามกับอังกฤษที่มะริดเพราะอังกฤษเรียกร้องให้ไทยรับผิดชอบเรือสินค้าอังกฤษ ถูกโจรสลัดปล้นแต่ไทยปฏิเสธการรับผิดชอบ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอังกฤษ จึงเสื่อมลง

ฝรั่งเศส : ฝรั่งเศส เป็นชาวตะวันตกชาติหลังสุดที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฝรั่งเศสมุ่งเผยแผ่คริสต์ศาสนา และฝ่ายไทยก็หวังให้ฝรั่งเศสเป็นตัวถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดาฝรั่งเศสได้ตั้งสถานีการค้าในอยุธยา ต่อมาฝรั่งเศสได้เปลี่ยนนโยบายเป็นการแสดงหาผลประโยชน์ทางการค้า และการเมืองควบคู่กัน ทำให้เกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นการจลาจลระหว่างคนไทยกับกองทหารฝรั่งเศส ต่อ


วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองสมัยกรุงสุโขทัย


ยุคสมัยกรุงสุโขทัย
ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน






พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
๑.การปกครองส่วนกลา ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร
(๒)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ







การปกครองสมัยสุโขทัย



อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรัก
ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัย
แก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศ
ราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

การปกครองก่อนสมัยสุโขทัย
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย

ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนใน
ครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน
ครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ
การปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อ
ปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปก
ครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการ
ปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประ
เทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของ
ประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลาย
ครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็น
เมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกัน
เป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของ
ไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่า
ปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดิน
สมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้
เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูก
ได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป

การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้
พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่ม
เย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะ
เป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะ
ใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้
วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง
หลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดา
จะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูก
ฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนด
ความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่ง
ที่หวังได้โดยยาก







กรุงสุโขทัยตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง และประวัติศาสตร์ที่มีกรุงสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง จะเริ่มตั้งแต่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา และในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19 ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางท่าว) ได้ สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้น






สภาพความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัยจากศิลาจารึก



เครื่องสังคโลก



วันจันทร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2553