หน่วยที่ 2

กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 1. ความสามารถของผู้เยาว์
                1.1 ผู้เยาว์  หมายถึง  บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ความเป็นผู้เยาว์จะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งบรรลุนิติภาวะ  เมื่อมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์  หรือ จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
                1.2 การพ้นจากภาวะความเป็นผู้เยาว์  มี  2 กรณี  คือ
                     ( 1 ) เมื่อมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์
                     ( 2 ) เมื่อจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย  โดยทั้งชายและหญิงมีอายุครบ  17  ปีบริบูรณ์และได้รับความยินยอมาจากบิดามารดาหรือผู้ปกครองให้ทำการสมรสได้
                1.3 ผู้แทนโดยชอบธรรม    คือ  บุคคลที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่างๆ  แทนผู้เยาว์  หรือมีอำนาจให้ความยินยอมให้การทำนิติกรรมของผู้เยาว์  โดยทั่วไปจะเป็นบิดามารดา
                1.4 สิทธิของผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม  มี  2  ลักษณะ  คือ
                     ( 1 ) การทำนิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์ทำได้ตามลำพัง  เช่น  ผู้เยาว์ที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์  สามารถทำพินัยกรรมและจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้
                     ( 2 ) การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม  เช่น  การทำสัญญาซื้อขายที่ดิน  ทำสัญญาซื้อรถยนต์  ทำสัญญากู้เงิน  การโอนทรัพย์สิน  ฯลฯ
2.  การกู้ยืมเงิน
                2.1 การกู้ยืมเงินเกิน  50  บาทขึ้นไป ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นลายลักษณ์อักษร และลงลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเงินไว้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้  หรือทำสัญญากู้เงินตามแบบฟอร์มก็ได้
                2.2 การชำระหนี้เงินกู้   ต้องทำหนังสือเป็นหลักฐานโดยมีข้อความว่าเจ้าหนี้ ( ผู้ให้กู้ ) ได้รับเงินชำระหนี้เงินกู้จากลูกหนี้  ( ผู้กู้ ) ตามจำนวนที่กู้  ( พร้อมทั้งดอกเบี้ย ) เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งลงลายมือชื่อของทั้งสองฝ่าย  หรืออาจใช้วิธีเวนคืนเอกสารสัญญากู้เงินหรือหลักฐานการกู้เงินให้แก่ผู้กู้ก็ได้
                2.3 การคิดอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมเงิน   ตามกฎหมายให้คิดได้สูงสุดไม่เกินร้อยละ  15 ต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่านี้จะมีผลให้ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งหมด  ผู้ให้กู้ไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่จะได้คืนเฉพาะเงินต้นเท่านั้น
3. ซื้อขาย
                3.1 ทรัพย์สินที่ซื้อขายกันได้  มี  2  ประเภท  ดังนี้
                     ( 1 ) อสังหาริมทรัพย์  คือ  ที่ดินและทรัพย์ที่อยู่ติดกับที่ดินอย่างถาวร  เช่น  บ้านเรือน โรงงาน  ต้นไม้ยืมต้น  และสิทธิจำนอง  เป็นต้น
                     ( 2 ) สังหาริมทรัพย์  หมายถึง  ทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้  เช่น  เก้าอี้  แหวนและสร้อยคอทองคำ  โทรทัศน์  รถยนต์  ช้าง  ม้า  และสิทธิในการจำนำ   เป็นต้น
                3.2  การทำสัญญาซื้อขาย    การซื้อขายทรัพย์ต่อไปนี้  จะต้องทำเป็นหนังสือซื้อขายและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน   มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ   หมายถึงเสียเปล่าไม่เกิดผลใดๆ  ได้แก่
                     ( 1 ) การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ   เช่น  เรือกลไฟ  เรือกำปั่น   เรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่  5  ตันขึ้นไป  แพที่อยู่อาศัย  และสัตว์พาหนะ  ฯลฯ
4.  เช่าทรัพย์
                4.1 เช่าสังหาริมทรัพย์  ไม่ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาการเช่า  เช่น  เช่าเรือกำปั่น เรือกลไฟ  และเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป  ฯลฯ
                4.2  เช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาการเช่า  เช่น เช่าบ้าน ที่ดิน ฯลฯ แต่ถ้าเช่าเกินกว่า  3  ปีขึ้นไป  จะต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานอีกด้วย  มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
5.  เช่าซื้อ
                5.1 ลักษณะของการเช่าซื้อ  เป็นสัญญาที่เจ้าของนำทรัพย์สินของตนออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เข้า  หลังจากที่ผู้เช้าได้จ่ายเงินครบตามข้อตกลงแล้ว  ( จะผ่อนชำระเป็นงวดๆ  ภายในเวลาที่กำหนด )
                5.2   ทรัพย์สินทุกประเภทเช่าซื้อได้  เช่น  บ้าน  ที่ดิน  รถยนต์  โทรทัศน์  ฯลฯ
                5.3   การเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์  จะต้องทำเป็นหนังสือสัญญา  มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ  และเมื่อผ่อนชำระจนครบแล้ว  กรรมสิทธิ์จะโอนไปยังผู้เช่าซื้อได้ต้องไปจดทะเบียนการโอนต่อเจ้าพนักงาน
กฎหมายอาญา
6.  ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา
การกระทำความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือต่อประชาชนส่วนมาก  เช่น  ปล้นจี้   ข่มขืน  ค้ายาเสพติด  ทำร้ายร่างกายผู้อื่น  ฯลฯ  ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญามีดังนี้
6.1  เป็นกฎหมายมหาชน
6.2  เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด  และกำหนดบทลงโทษไว้
6.3  เป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
6.4  เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับภายในอาณาเขตของรัฐนั้น
7.  ความรับผิดในทางอาญา
บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อกระทำความผิด  3   ลักษณะ  ดังนี้
7.1  กระทำโดยเจตนา  เช่น  เด็กวัยรุ่นยกพวกตีกันและใช้มีดแทงคู่กรณีได้รับบาดเจ็บสาหัส
7.2  กระทำโดยไม่เจตนา  เช่น  นักเลงอันธพาลใช้ก้อนหินขว้างเข้าไปในบ้านผู้อื่นหวังจะข่มขู่แต่ไปถูกศีรษะคนในบ้านได้รับบาดเจ็บ
7.3  กระทำโดยประมาท  เช่น  ขับรถขนคนตาย  พ่อค้าทำหม้อน้ำเดือดหกใส่ลูกค้าในร้านได้รับบาดเจ็บสาหัส  ฯลฯ
8.  โทษทางอาญา ความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามี  5  สถาน  เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำได้  ดังนี้
8.1  ประหารชีวิต
8.2  จำคุก
8.3  กักขัง
8.4  ปรับ
8.5  ริบทรัพย์สิน
9.  การกระทำความผิดทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญามี  ดังนี้
9.1 ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร  เช่น  ก่อกบฏแบ่งแยกดินแดน  ล้มล้างรัฐธรรมนูญ  ทำลายธงชาติ  ฯลฯ
9.2  ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง  เช่น  ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน   ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน   แจ้งความเท็จ  ฯลฯ
9.3  ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน  เช่น  รวมตัวเป็นอั้งยี่หรือช่องโจร  ฯลฯ
9.4  ความผิดที่ก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อประชาชน  เช่น  ลอบวางเพลิง  กีดขวางทางรถไฟให้เกิดอันตรายแก่การเดินรถ   ปลอมปนอาหารจนเกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ฯลฯ
9.5  ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์  เช่น  ลักทรัพย์  ปล้นทรัพย์  ยักยอกทรัพย์  รับของโจร  ฯลฯ
9.6  ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย  เช่น  ทำร้ายร่างกายผู้อื่น  ฆ่าผู้อื่นทอดทิ้งเด็กทารก   ฯลฯ
9.7  ความผิดเกี่ยวกับเพศ  เช่น  กระทำอนาจาร  ข่มขืน  ฯลฯ
9.8 ความผิดเกี่ยวกับการค้า  เช่น  ปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น  หลอกลวงขายสินค้าเสื่อมสภาพ  ทำสินค้าปลอมหรือเลียนแบบ   โกงตราชั่ง   ฯลฯ
9.9  ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง  เช่น  ปลอมธนบัตร  เหรียญกษาปณ์  แสตมป์  พินัยกรรมและเอกสารของทางราชการต่างๆ  ฯลฯ
9.10  ความผิดเกี่ยวกับศาสนา  เช่น  แต่งกายเลียนแบบพระสงฆ์  หรือนักบวชในศาสนาอื่นๆ หรือการกระทำการดูหมิ่นเหยียดหยามวัตถุหรือศาสนาสถานอันเป็นที่เคารพของศาสนาต่างๆ
10.  ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา  มีดังนี้
10.1  ลักทรัพย์  คือ  การนำเอาทรัพย์สินของผู้อื่นไปโดยที่เจ้าของไม่ยินยอม   และไม่รู้ตัว
10.2  วิ่งราวทรัพย์  คือ การฉกฉวยเอาทรัพย์สินของเจ้าของไปซึ่งหน้า  หรือต่อหน้าเจ้าของ
10.3  ชิงทรัพย์  คือ  บังคับเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
10.4  ปล้นทรัพย์  คือ คนตั้งแต่  3  คนขึ้นไปร่วมมือกันชิงทรัพย์จากผู้อื่นไป  โดยใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
11. การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนประมวลกฎหมายอาญาได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน  4  ระดับอายุ  ดังนี้
11.1  เด็กอายุไม่เกิน  7  ปี  เมื่อกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษใดๆ  เช่น  ลักขโมยทรัพย์หรือทำปืนลั่นถูกเพื่อนเสียชีวิต  เป็นต้น
11.2  เด็กอายุเกิน  7  ปี  แต่ไม่เกิน 14  ปี  เมื่อกระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ  แต่ศาลจะใช้วิธีการของศาล   เช่น  ว่ากล่าวตักเตือน   หรือวางข้อกำหนดให้ผู้ปกครองควบคุมเด็กมิให้ก่อเหตุขึ้นอีก
11.3  เยาวชนอายุเกินกว่า   14  ปี  แต่ไม่เกิน  17  ปี  เมื่อกระทำความผิดตามกฎหมายให้ศาลวินิจฉัยว่าจะใช้วิธีเหมือนในข้อ  11.2  หรือส่งตัวไปฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก  หรือพิพากษา  ลงโทษตามกฎหมาย  แต่ให้ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง
11.4  เยาวชนอายุเกินกว่า  17  ปี  แต่ไม่เกิน  20  ปี  เมื่อกระทำความผิดตามกฎหมาย  ให้ศาลพิพากษาโดยลดโทษลง  1  ใน  3  หรือกึ่งหนึ่งของโทษก็ได้