วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)


กบฏ ร.ศ. 130


กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน [1] แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ [2]
• ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
• ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
• ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
• ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
• ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
• ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
• ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร และการลุกฮือของประชาชนในประเทศไทย (พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2549)


ปฏิวัติ
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475


รัฐประหาร
รัฐประหาร พ.ศ. 2476 (พระยามโนฯ ปิดสภา) • รัฐประหาร พ.ศ. 2476 (พระยาพหลฯยึดอำนาจ) • รัฐประหาร พ.ศ. 2490 • รัฐประหารเงียบ พ.ศ. 2491 • รัฐประหาร พ.ศ. 2494 • รัฐประหาร พ.ศ. 2500 • รัฐประหาร พ.ศ. 2501 • รัฐประหาร พ.ศ. 2514 • รัฐประหาร พ.ศ. 2519 • รัฐประหาร พ.ศ. 2520 • รัฐประหาร พ.ศ. 2534 • รัฐประหาร พ.ศ. 2549


กบฏ
กบฏ ร.ศ. 130 (พ.ศ. 2455) • กบฏบวรเดช พ.ศ. 2476 • กบฏนายสิบ พ.ศ. 2478 • กบฏพระยาทรงสุรเดช พ.ศ. 2482 • กบฏเสนาธิการ พ.ศ. 2491 • กบฏวังหลวง พ.ศ. 2492 • กบฏแมนฮัตตัน พ.ศ. 2494 • กบฏ พ.ศ. 2507 • กบฏ พ.ศ. 2520 • กบฏยังเติร์ก พ.ศ. 2524 • กบฏทหารนอกราชการ พ.ศ. 2528


การลุกฮือของประชาชน
กบฏสันติภาพ พ.ศ. 2495 • เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 • เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 • พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น